ประวัติ พระอาจารย์พิศาล ปุรินทโก (พระอาจารย์ชัย วัดบางโทง)

3500
views
พระราชวชิรากร พระอาจารย์พิศาล ปุรินทโก

ประวัติ “พระราชวชิรากร” พระอาจารย์พิศาล ปุรินทโก (พระอาจารย์ชัย) วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

พระราชวชิรากร อาจารย์เจ้าคุณชัย ( พระอาจารย์ชัย ) กระบี่

ประวัติส่วนตัว

พระครูปลัดพิศาล ปุรินทโก (พระอาจารย์ชัย) เดิมชื่อ สมชัย นามสกุล แก้วมา เกิด เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ บ้านทุ่งสูง หมู่ที่ ๔ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ บิดา ชื่อ นายไข่ นามสกุล แก้วมา มารดา ชื่อ นางเนียบ นามสกุล แก้วมา พี่น้อง ๗ คน ชาย ๔ คน หญิง ๓ คน
๑. นายสมหมาย เสียชีวิตตั้งแต่ อายุได้ ๗ ปี | ๒. นายสมบัติ แก้วมา | ๓. นายสมพร แก้วมา  | ๔. นางสมทรง
| ๕. พระอาจารย์ชัย (สมชัย แก้วมา)  | ๖. นางเหมีย  | ๗. เสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
“วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่”

ประวัติการศึกษา
พระครูปลัดพิศาล ปุรินทโก (พระอาจารย์ชัย) เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบางโทง ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓

เริ่มสนใจใฝ่ธรรมะ

ในวัยเด็ก สมชัย แก้วมา เข้าศึกษาในโรงเรียนเหมือนเด็กต่างจังหวัดตามท้องไร่ท้องนาทั่วไป เผอิญทางเดินไปโรงเรียนต้องผ่านศาลาการเปรียญของวัดประจำหมู่บ้านหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “โรงธรรม” และศาลาฯ นี้มีพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง ท่านบอกว่ารู้สึกอิ่มเอมใจอย่างประหลาด เมื่อได้เห็นพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นั้น ฉะนั้น บางวันท่านก็จะแวะเวียนอยู่ในวัดครั้งละนาน ๆ บางครั้งได้เงินซื้อขนมท่านก็จะเอาไปซื้อธูปเทียนมาบูชาพระ แล้วนั่งมองแสงเทียนด้วยความรู้สึกสงบเย็น พฤติกรรมของท่านในวัยเด็กจึงแปลกจากเด็กทั่วไป เพราะจะมีท่าทางสงบเสงี่ยม สุขุมเยือกเย็น ไม่นิยมการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและซุกซนเหมือนเด็กชายทั่ว ๆ ไป

อาจารย์เจ้าคุณชัย กระบี่

อาจารย์ท่านแรก

ผู้ที่สังเกตเห็นพฤติกรรมนี้ของท่านก็คือ นายปลอด ชูเชื้อ ซึ่งเป็นคุณตาของท่านเอง คุณตาเคยบวชเรียนมาหลายปี และเคยเป็นพระธุดงค์ ที่มีศีลวัตร น่าเลื่อมใสศรัทธารูปหนึ่ง มีประสบการณ์ทางธรรมมามาก ทั้งยังศึกษาวิชาคาถาอาคม แต่ไม่มีวาสนาที่จะอยู่ครองเพศบรรพชิต ต้องลาสิกขาบทมาครองเพศฆราวาส แต่จิตใจยังยึดมั่นอยู่ในธรรม และปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์เช้าเย็น และนั่งสมาธิทำวิปัสสนาเป็นประจำ เมื่อเห็นว่าหลานชายโน้มน้าวทางธรรมจึงให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติ ตลอดจนถ่ายทอดวิชาคาถาอาคมให้ด้วย แต่ติดอุปสรรคที่เด็กชายชาวบ้านนั้นจะต้องเรียนหนังสือและช่วยงานบ้านด้วย ขณะที่มารดาเองก็ต้องวุ่นวายกับการดำรงชีพของชาวโลก ก็จะไม่เข้าใจและดุว่าขี้เกียจหลบงาน แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็สามารถฝึกฝนจาก

คุณตาของท่าน ได้พอสมควร ทั้งการท่องบทสวดมนต์ไหว้พระ ท่องพระคาถาเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ได้เกือบหมด และถูกต้องตามอักขระ น้ำเสียงนั้นก็นุ่มนวลราวกับฝึกฝนมานานปี และสามารถนั่งสมาธิได้อย่างสงบนิ่ง ตลอดจนท่องคาถาต่าง ๆ และรู้วิธีลงเลขเสกยันต์ ได้อย่างรวดเร็ว นำความประหลาดใจให้กับคุณตาของท่าน เป็นอย่างมาก

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

พระอาจารย์พิศาล ปุรินทโก

สมชัย แก้วมา  ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515
ณ วัดบางโทง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยมี พระสุตาวุธวิสิฐ อดีตเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้บรรพชาอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ณ วัดแก้วโกรวาราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ณ วัดบางโทง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ สอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดแก้วโกรวาราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ หลังจากนั้นได้ลาสิกขาบทในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้อุปสมบทอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ วัดคลองท่อม ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยมีพระครูอาทรสังวรกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ ระหว่างบรรพชา ท่านมีความรู้สึกว่าท่านพอใจที่จะหาความสงบโดยการนั่งสมาธิวิปัสนากรรมฐานมากกว่าการมานั่งท่องบทตำรา ดังนั้น ท่านจึงสืบหาจนทราบว่าที่วัดถ้ำเสือฯ จังหวัดกระบี่ มีพระวิปัสสนาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง คือ พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฎโฐ ซึ่งมีกำหนดจะไปบรรยายธรรมที่วัดพรุพรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พบพระอาจารย์จำเนียร

อาจารย์จำเนียร วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่

ที่วัดพรุพรี ท่านได้เข้าฟังการบรรยายธรรมจากพระอาจารย์จำเนียร เป็นการพบกันในทางธรรม ยังไม่ได้พบพระอาจารย์จำเนียรเป็นการส่วนตัว ตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนให้ท่านตัดสินใจแน่วแน่ที่จะมุ่งมั่นทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และทราบได้ในทันทีว่า ท่านผู้นี้แหละคือวิปัสสนาจารย์ ที่เราแสวงหา จึงกลับไปลาญาติโยมครูบาอาจารย์ ที่วัดเดิม (วัดบางโทง) เพื่อไปขอศึกษากับพระอาจารย์จำเนียร ที่วัดถ้ำเสือฯ

ที่วัดถ้ำเสือวิปัสสนา กระบี่

วัดถ้ำเสือวิปัสสนา กระบี่

ขณะนั้นที่วัดถ้ำเสือฯ มีภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกามาศึกษาธรรมและฝึกวิปัสสนา ร่วมร้อยชีวิต แต่ยังมีที่ว่างพอสำหรับสมาชิกใหม่ผู้ตั้งใจจริงอย่างสามเณรสมชัย แก้วมา ท่านเล่าให้ฟังว่า “พระอาจารย์จำเนียรสอนให้นั่งสมาชิกตามแบบสติปัฎฐาน 4 ให้กำหนดกาย เวทนา จิต ธรรม ให้กำหนดภายเพื่อมิให้ยึดมั่นอยู่ในกายนี้ ไม่หลงอยู่ในกาย เพื่อจะให้จิตหลุดพ้นจากการผูกติดในกาย เอาจิตอันบริสุทธิ์ออกมาพิจารณาส่วนอื่น โดยปราศจากการมัวเมา หลงรูป หลงเสียง หลงรส จากนั้นก็น้อมนำธรรมะอันบริสุทธิ์เข้ามาปฏิบัติโดยการภาวนา เมื่อถึงขั้นนั้น กาย เวทนา จิต และธรรม ก็สามารถแยกออกจากกันได้อย่างอิสระไม่ผูกติดอยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด” กำหนดการขณะนั้นมีดังนี้

วัดถ้ำเสือวิปัสสนา กระบี่

๑. เวลา ๐๔.๐๐ น. ต้องตื่นนอนเพื่อลุกขึ้นมาไหว้พระสวดมนต์ด้วยกัน และสั่งสมาธิจนถึง ๐๕.๐๐ น.
๒. เวลา ๐๕.๐๐ น. พักผ่อนคลายอิริยาบท ๑ ชั่วโมง ก่อนออกไปรับบิณฑบาตร ฝ่ายที่เป็นฆราวาสก็ให้ทำธุระส่วนตัว และช่วยกินในวัด เช่นจัดเตรียมที่ทางให้พระ เณรฉันอาหาร ทำอาหาร ปัดกวาดเสนาสนะ ทำความสะอาดบริเวณ
๓. เวลา ๐๘.๐๐ น. ฝึกสมาธิวิปัสสนาร่วมกัน โดยมีพระอาจารย์จำเนียร คอยชี้แนะทางทฤษฎี และปฏิบัติฝึกฝนสลับกับการพักผ่อนตามอัธยาศัย
๔. เวลา ๑๔.๐๐ น. มาประชุมพร้อมกัน เพื่อไหว้พระสวดมนต์เย็นก่อนที่จะนั่งสมาธิ ฟังการอธิบายธรรมและคำแนะในการนั่งวิปัสสนา จนถึง เวลา ๑๘.๐๐ น. ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติและแสวงหาความสงบเป็นการส่วนตัว

 

พระอาจารย์พิศาล ปุรินทโก

ออกธุดงค์

หลังจากผ่านการศึกษาธรรมะและการวิปัสสนาได้พอสมควร เมื่อออกพรรษาภิกษุที่มาฝึกฝนที่ วัดถ้ำเสือฯ ซึ่งมาจากทั่วสารทิศส่วนหนึ่งนิยมออกไปธุดงค์แสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร ท่านเองก็อยากหาประสบการณ์นี้ จึงขอติดตามพระภิกษุที่คุ้นเคยกันไปด้วย พระภิกษุเหล่านั้นเห็นว่าท่านแม้จะเป็นสามเณร แต่มีจิตที่เป็นสมาธิพอสมควรและมีวิชาความรู้พอรักษาตัวเองได้จึงอนุญาตให้ร่วมทางไปด้วย

มุ่งสู่ภาคเหนือ

ภาคเหนือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๙ ยังมีป่าไม้มากที่สุด และมีวิปัสสนาจารย์ที่ทรงคุณหลายรูป พระภิกษุสายนี้มักจะธุดงค์ไปทางภาคเหนือเพื่อแสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งอุดมสมบูณณ์ กว่าภาคใด ๆ ทั้งยังมีโอกาสได้กราบขอคำแนะนำจากพระวิปัสสนาที่ทรงคุณความรู้ด้วย ซึ่งมีหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น การธุดงค์ คณะนี้ออกเดินทางจากวัดถ้ำเสือ โดยถือปณิธานว่าจะเดินเท้าให้มากที่สุด จะขึ้นรถเฉพาะในเขตชุมชนที่มีผู้คนพลุกพล่านไม่เหมาะกับการเดินเท้า และขึ้นเฉพาะรถที่คนขับตั้งใจจอดรับ จะไม่มีการโบกมือเรียกเป็นอันขาด

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
“วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่”

การเดินทางใช้เวลาถึง ๓ เดือน ทั้งนี้เป็นเพราะจะมีการแวะเข้าไปนมัสการและอยู่สนทนาธรรม ปฏิบัติธรรมกับพระเถระผู้ใหญ่น่าเลื่อมใสหลายรูปเป็นระยะ ๆ แม้จะไม่นานนัก ในครั้งนี้ได้มีโอกาสไปถึงดอยแม่ปั๋ง และเข้ากราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “ครั้งที่อาตมาไปกราบนมัสการหลวงปู่แหวน ขณะนั้นท่านยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่สำหรับพระนักปฏิบัติวิปัสสนาจะรู้จักท่านเป็นอย่างดี อาตมาได้อยู่ศึกษาธรรม ดูอัธยาศัยและฟังคำแนะนำของท่านอยู่หลายเดือน จากนั้นก็ธุดงค์ต่อ คราวนี้ธุดงค์กลับลงใต้ เราะจะต้องกลับมาเข้าพรรษาที่วัดถ้ำเสือฯ และเมื่อออกพรรษาก็ไปธุดงค์อีก ทำเช่นนี้ทุกปี”

การธุดงค์ภาคเหนือครั้งนั้น เป็นที่ตื่นตาตื่นใจต่อสามเณรสมชัย เป็นอย่างมาก เพราะได้ประสบการณ์ในการธุดงค์ ได้สัมผัสวามสุขสงบจากความวิเวก ในป่าเขา การนั่งสมาธิในถ้ำภูผา และคำแนะนำจากพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป ได้ความรู้ทางธรรมและมีจิตมุ่งมั่นยิ่งขึ้น ได้นำข้อชี้แนะต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ แต่ก็ยังยึดหลักวิธีปฏิบัติของพระอาจารย์จำเนียรเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพราะเกรงว่าหากยึดหลายหลากแนวจะทำให้จิตสับสนและฟุ้งซ่าน ท่านปฏิบัติอย่างนี้จนอายุใกล้ครบอุปสมบท เป็นเวลา ๔ ปี ที่ได้ศึกษากับพระอาจารย์จำเนียร ซึ่งท่านได้เห็นแววของสามเณรสมชัย ว่าจะเจริญทางธรรมต่อไป จึงชี้แนะเคล็ดลับต่าง ๆ และเมตตาเป็นพิเศษ

พระมหาธาตุเจดีย์พุทธรรมบันลือ วัดบางเหรียง พังงา
“พระมหาธาตุเจดีย์พุทธรรมบันลือ วัดบางเหรียง อ.ทับปุด จ.พังงา”

ธุดงค์ภาคเหนืออีกครั้ง

สามเณรสมชัย แก้วมา  อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำเสือฯ ได้ 2 พรรษา เมื่อออกพรรษาท่านได้ธุดงค์ไปภาคเหนืออีกครั้ง เป้าหมาย คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คราวนี้มีเพื่อนร่วมธุดงค์ ๒ รูป ซึ่งศึกษาธรรมด้วยกันที่สำนักถ้ำเสือฯ
คณะฯ เดินทางด้วยหลักการเดิม บางคราวก็มีพระองค์อื่นมาร่วมธุดงค์ไปด้วย บางคราวก็แยกย้ายออกไปแต่ที่มาจากวัดถ้ำเสือฯ ด้วยกันจะไปด้วยกันตลอดจนถึงที่หมาย ถึงจังหวัดตากได้ข่าวว่าจะมีการเข้าปริวาสกรรมที่วัดแห่งหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้เพราะอยู่เพียงไม่กี่วัน) ท่านเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้แลกเปลี่ยนทัศนะและธรรมวัตรข้อปฏิบัติกับพระวิปัสสนาจารย์เก่ง ๆ ทาง ภาคเหนือ

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

นิมิตเห็นพระบรมสารีริกธาตุ

ภายหลัง เสร็จจากงานปริวาสกรรม คณะฯ และพระภิกษุ ๒ – ๓ รูป ในงานร่วมธุดงค์ ไปป่าภาคเหนือด้วยกัน ถึงเมืองเก่าแห่งหนึ่ง (ในเขตอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย) ซึ่งซากปรักหักพังและเป็นเนินดิน บรรยากาศร่มรื่นและสงบเงียบเป็นที่ที่ท่านได้นิมิตเห็น พระบรมสารีริกธาตุ จากนิมิตได้เห็นชายผู้หนึ่ง ซึ่งภายหลังท่านคิดว่าคงเป็นเทพได้มาบอกให้ท่านนำพระบรมสารีริกธาตุ ไปเก็บรักษาเพื่อสร้างพระธาตุเจดีย์ต่อไป เป็นการนิมิตติดต่อกันหลายคืน

อุปสมบท

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ สามเณรสมชัย   แก้วมา ได้เดินทางกลับบ้านทุ่งสูง ซึ่งเป็นบ้านของโยมแม่ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าตนจะเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญาติโยมก็พาท่านไปเข้าพิธีอุปสมบทที่ วัดแก้วโกวราราม เช่นเดิม เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระเดชพระคุณทางเจ้าคุณพระสุตาวุธวิสิฎ อุปัชฌาย์ เป็นพระภิกษุให้อีกครั้งหนึ่ง พระครูวิสุทธิ์ พระภิกษุอาวุโสของวัดแก้วโกวราราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระภิกษุอีกรูปของที่นี่เป็นพระอนุศาสนาจารย์หลังจากอุปสมบทท่านเดินทางกลับไปอยู่วัดถ้ำเสือฯ อยู่ศึกษาและปฏิบัติธรรมได้อีก ๑ ปี ก็ได้กราบลาพระอาจารย์จำเนียรไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำแห่งหนึ่งในอำเภออ่าวลึก ต่อมาได้จัดตั้งเป็นวัดและสำนักวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง ชื่อว่า “วัดถ้ำเสือน้อย” ที่ได้ชื่ออย่างนี้เพราะพระอาจารย์สมชัยและภิกษุที่ไปบุกเบิกวัดถ้ำแห่งนี้ ล้วนเป็นศิษย์ของพระอาจารย์จำเนียร แห่งวัดถ้ำเสือฯ นั้นเอง จากที่นี้ทำให้พระอาจารย์สมชัย เป็นที่รู้จักมากขึ้น

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

เสียรู้คนพาล
ในฐานะสมภารวัดในชนบททั่วไป จะต้องเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในทุก ๆ ด้าน ผู้คนที่มากราบพบท่านย่อมมีทั้งดีชั่วปะปนกัน ท่านเป็นพระภิกษุผู้ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอุปถัมภ์จากชาวบ้าน ท่านจำต้องตอบแทนชาวบ้านเท่าที่จะทำได้ คนเหล่านั้นบ้างก็มาขอหวยเบอร์ บ้างก็มาให้ปะพรมน้ำมนต์ บ้างก็ขอให้ลงสักเสกเลขยันต์ หากไม่เหมาะไม่ควร เช่น การขอหวยเบอร์ท่านจะปฏิเสธไปทุกราย สำหรับการสักเสกเลขยันต์ แรก ๆ ท่านก็บอกปัดไปเช่นกัน แต่ชาวบ้านก็คะยั้นคะยอ เมื่อถูกปฏิเสธก็กลับไป ด้วยความผิดหวัง จนมีครั้งหนึ่งโยมคนหนึ่งกล่าวด้วยความน้อยใจว่า “ท่านทำไปเถอะ ท่านเป็นภิกษุที่มีศีลบริสุทธิ์ คำพูดคำอวยพรของผู้มีศีลบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์เสมอ ไม่จำเป็นต้องทำพิธีให้มันใหญ่โตก็ได้”

 

ท่านจึงเริ่มเห็นใจพวกที่มาขอให้ช่วยเป่ากระหม่อม ขอวัตถุมงคล โดยท่านเห็นว่าพวกเขามีความศรัทธาอยางได้อะไรเป็นตัวแทนเพื่อระลึกถึงกันด้วยจิตใจบริสุทธิ์ของผู้ทรงศีล จึงมองไปในแง่ดี ที่สุดท่านก็เริ่มทำพิธีเป่ากระหม่อมบ้าง และจากการที่ท่านเคยเรียนวิชาคาถาอาคมจากท่านตามาจึงคิดจะนำมาทดลองใช้ โดยลองทำพิธีสักเสกเลขยันต์ให้กับชาวบ้านด้วยความเมตตาและตั้งมั่นในศีลในธรรม โดยไม่คิดว่าในหมู่คนดีก็มีคนชั่วแฝงอยู่ คนดีก็เอาไปใช้ในทางดี คนชั่วก็นำไปใช้ในทางชั่ว ท่านมาทราบก็ต่อเมื่อวันหนึ่งผู้นำท้องถิ่นมาร้องเรียนกับท่านว่าลูกศิษย์ของท่านได้ของดีไปฮึกเหิมมาก กระทำผิดกฎหมายปล้นสดมภ์และลักขโมย โดยเฉพาะพวกที่ลงมือไปปล้นไปขโมยรังนกนางแอ่นตามเกาะต่าง ๆ ในบริเวณจังหวัดกระบี่ เมื่อก่อนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถกำหราบได้ ทว่าตั้งแต่พวกนั้นได้ของดีจากท่านไปทำให้ยากแก่การปราบปราม เพราะบ้างก็หนังเหนียวยิ่งไม่เข้า บ้างกล้าเหยียบกับระเบิดที่เจ้าหน้าที่ตั้งไว้แต่ไม่เป็นไร บางคนถูกยิงเห็นกับสายตาแต่ไม่ได้รับอันตราย และทำผิดกฎหมายหนักขึ้นไปอีก มิจฉาชีพพวกนี้บางคนก็เคยนำเงินมาถวายท่าน ซื้ออิฐ หิน ปูน ทราย มาถวายท่าน พระอาจารย์สมชัยทราบเช่นนั้นบังเกิดความเศร้าเสียใจอย่างมาก จากนั้นก็หยุดไม่ทำเครื่องรางของขลัง ลงสักเสกเลขยันต์ให้กับใครอีกเลย นอกจากนั้นยังมีผุ้นำท้องถิ่นคนหนึ่งซึ่งโกรธเคืองท่านมากและคิดว่าท่านเลี้ยงโจร ส่งเสริมให้คนทำผิดถึงกับกล่าวกับท่านว่า “ท่านเป็นพระประเภทไหนกันแน่ บวชถือศีลแต่สนับสนุนให้คนทำผิด เลี้ยงโจรทำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง นี้ถ้าท่านไม่ใช่พระ ผมยิงทิ้งเสียแล้ว”

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

ลาสิกขาเพื่อล้างบาป

คำพูดดังกล่าวทำให้ท่านเห็นว่าการครองเพศบรรพชิตเหมือนกับท่านเป็นคนขี้ขลาด อาศัยผ้าเหลืองคุ้มตัวเหมือนที่เขาว่ามา ท่านเคยภูมิใจกับการมุ่งมั่นปฏิบัติของตนเสมอมา บัดนี้ไม่มีอะไรเหลือให้เป็นความภูมิใจอีกแล้ว และหากยังคงครองเพศบรรพชิตอยู่ แล้วเกิดท่านผู้นั้นบรรลุโทสะและทำร้ายท่านขึ้นมา ก็จะเป็นบาปอันมหันต์สำหรับเขา ฉะนั้น เราควรลาสิกขาบทออกมาชดใช้กรรมนี้เสียดีกว่าจึงลาสิกขาบทเมื่อปี 2523 ครั้งนั้น ท่านลาสิกขาบทก็เพียงแต่กายเท่านั้น ในจิตใจยังยึดมั่นในธรรม และปฏิบัติเฉกเช่นภิกษุสงฆ์ทุกประการ เว้นแต่นุ่งห่มขาวเท่านั้น ท่านได้ประกาศออกไปว่า “หากใครต้องการยิงท่าน ต้องการจะสำเร็จโทษท่านก็ให้ทำได้เพราะตอนนี้ท่านไม่ได้เป็นพระแล้ว ถ้าใครต้องการฆ่าก็ให้มาฆ่าได้เลย ท่านรออยู่” หลังจากที่ประกาศออกไป ท่านถูกลอบยิงหลายครั้ง แต่น่าอัศจรรย์ที่กระสุนเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ ท่านก็ไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุใด ทั้งนี้เนื่องจากท่านไม่เคยสักเสกเลขยันต์ให้กับตัวเอง กระสุนที่เจาะร่างท่านปัจจุบันก็ยังฝังในร่างกายและแผลต่าง ๆ ที่โดยลอบยิงก็ยังปรากฎชัดเจนตามเรือนร่างของท่าน เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่สามารถทำร้ายผู้ทรงศีลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ได้ พวกที่ลอบยิงก็แจ้งให้ทราบว่า “พวกเขาเลิกจองเวรท่านแล้ว ไม่คิดติดใจในการกระทำครั้งนั้นของท่านอีกต่อไป เรื่องที่แล้ว ๆ มาทั้งหมดก็ให้เลิกแล้วต่อกันไป”

เป็นเวลา ๑ ปี เต็ม ๆ กับการชดใช้บาปโดยการถูกลอบทำร้ายหลายครั้ง แต่ไม่บังเกิดผลแต่ประการใด และเมื่อกลุ่มคนกลุ่มนั้นขอให้เลิกแล้วต่อกัน ท่านจึงคิดกลับไปครองเพศบรรชิตอีกครั้ง เพราะถือว่าการชดใช้กรรมในครั้งนั้นน่าจะเพียงพอแล้ว คราวนี้ท่านไปอุปสมบทที่วัดคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยมีพระครูอาทรสังวรกิจ เจ้าอาวาสวัดคลองท่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า “ปุรินทโก” (อุปสมบทอีกครั้งเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๒๕) อาจารย์จำเนียร ซึ่งยังเป็นเจ้าภาพบวชให้ หลังจากบวชแล้ว ท่านไม่ได้กลับไปที่วัดถ้ำเสือน้อย แต่กลับไปปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำเสือฯ โดยมุ่งหวังที่จะออกธุดงค์เพื่อแสดงหาความวิเวกตามป่าเขา และมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมเป็นหลัก

 ธุดงค์ภาคอีสาน-นมัสการหลวงพ่อชา

พระอาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง

หลังออกพรรษาท่านปรึกษากับเพื่อนสหธรรมิกจะไปธุดงค์คราวนี้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ภาคอีสาน แวะเวียนสำนักของพระวิปัสสนาจารย์เป็นระยะ ๆ จนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระวิปัสสนาจารย์สำคัญรูปหนึ่ง คือ พระอาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง การได้ไปกราบและฟังข้อธรรมะจากหลวงพ่อชา สุภัทโท ครั้งนี้ ทำให้ท่านเข้าใจในธรรมะและข้อวัตรปฏิบัติมากขึ้น พักอยู่ที่วัดหนองป่าพงหลายวันจึงลากลับวัด ถ้ำเสือฯ

นิมิตเจอพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน

พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน

ที่วัดถ้ำเสือฯ พรรษานั้นท่านคิดจะปลีกตัวจากหมู่คณะเพื่อธุดงค์เพียงลำพัง ขณะปักกลดปฏิบัติธรรมในป่าช้าที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปรากฎภาพนิมิต เห็นพระภิกษุชรารูปหนึ่งมาพบ และแนะนำตัวเองว่าชื่อพ่อท่านคล้าย เคยอยู่วัดสวนขัน ท่านเคยเห็นภาพถ่ายและรูปปั้นของเกจิอาจารย์สำคัญของภาคใต้องค์นี้ แปลกใจว่าท่านละสังขารจากโลกนี้ไปนานแล้ว คาดไม่ถึงว่าจะได้พบกับท่านในนิมิต พ่อท่านคล้ายปรากฏเพื่อจะสอนกรรมฐานให้ อธิบายข้อธรรมะและแนะเคล็ดลับในการนั่งสมาธิ ๓ ประการ คือ

๑. กำหนดสติให้แม่น
๒. ตั้งสมาธิให้แน่วแน่
๓. ทำสมาธิให้เสมอด้วยปัญญา และทำปัญญาให้เสมอด้วยสมาธิ

พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน

พร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ เมื่อเริ่มปฏิบัติท่านประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่าทำไมคืนนี้นั่งสมาธิได้สงบนิ่ง และนานอย่างไม่รู้จักอิ่มเช่นนั้น รู้สึกว่าตัวเบา จิตเบา ความนึกคิดปลอดโปร่ง ก่อนจะออกจากฌาน พ่อท่านคล้ายได้กำชับอีกว่า ให้ถือพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้มั่น เพราะธรรมข้อนี้จะช่วยทำให้ปฏิบัติธรรมได้ดีขึ้นมาก

เมื่อได้พบสิ่งอัศจรรย์เช่นนั้น ท่านจึงตัดสินใจอยู่ที่นั่นเพื่อฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง เป็นเวลาถึง ๒ เดือน รู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปกว่าเก่ามาก ความรู้สึกขลาดกลัวต่าง ๆ ความกังวลที่เคยมีมลายหายไปสิ้นแล้ว หลังจากนั้นท่านมักจะธุดงค์ไปเพียงลำพังจากเหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก ทั่วประเทศไทย รวมระยะเวลาในการออกธุดงค์ทั้งหมด ๑๕ ปี ในช่วงเข้าพรรษาส่วนใหญ่จะจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำเสือฯ รวมระยะเวลา ๖ พรรษา

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
“วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่”

เจ้าเขา ลองดี

ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปที่บริเวณปลายเขตแดน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ บริเวณนี้ มีชื่อว่า “เขาสระ” เพราะเป็นเชิงเขาและมีแอ่งน้ำใหญ่เหมือนกับสระน้ำโบราณ มีเหตุการณ์ประหลาดที่ไม่วันลืมตลอดชีวิต และเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตบรรพชิตมาเป็นแบบปัจจุบัน

ในการธุดงค์หาความวิเวกในป่าต่าง ๆ นั้น หากที่ไหนมีป่าลึก ป่าทึบ สงบร่มรื่นน่าอยู่ และหากพอใจ ก็จะอยู่นานหน่อย ที่ไหนเริ่มวุ่นวายหรือไม่สงบเท่าที่ควรไม่กี่วันก็ต้องไปที่อื่นอีก จนถึงจังหวัดกระบี่ ตอนนั้นโยมแม่ย้ายมาอยู่ที่นี่แล้ว ท่านตั้งใจจะมาแวะเยี่ยมโยมแม่ด้วย ถึงอำเภอปลายพระยาเห็นมีป่าใหญ่เป็นป่าทึบ กว้างขวาง ดูสงบ จึงแวะเข้าไปปักกลดพัก เมื่อเดินลึกเข้าไปอีกพบบริเวณเหมือนกับจะเป็นเมืองหรือวัดเก่า ท่านสงสัยจึงคิดจะลองนั่งสมาธิทดสอบดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าที่นี่เคยเป็นอะไรมาก่อน คืนหนึ่งขณะเดินจงกรมใกล้กลด ปรากฏมีชายร่างสูงใหญ่และดูน่ากลัวมาเดินจงกรมไม่ไกลกันนัก สามารถสื่อถึงกันด้วยสมาธิ ได้ยินเสียงเขาพูด แต่ไม่ทราบว่าพูดอะไร เพราะไม่ได้ตั้งใจฟัง แต่ต่อมาก็ทราบว่าชายสูงใหญ่ผู้นี้เป็นเจ้าเขาแห่งนี้ เขามาบอกท่านว่าเขาเป็นเจ้าเขาอารักขาบริเวณแถบนี้ ชื่อ “ตาจัน” เขามาในลักษณะที่มากลั่นแกล้งคงจะลองดีอะไรนองนั้น คืนหนึ่งเข้านั่งพักหลังจากเดินจงกรมเสร็จ รู้สึกง่วงเวลาประมาณตี ๓ ตี ๔ ปรากฏว่ามีเท้าขนาดใหญ่ถีบลงบนกลด เท้านั้นเหยียบบนอกท่านกดเอาไว้ ท่านรู้ได้ในตอนนั้นว่าเขาต้องการทำร้าย แต่คิดว่าในเมื่อเราไม่มีเจตนาที่จะทำร้ายเขา ก็ไม่รู้จะกลัวอะไร อย่างมากก็แค่ตาย ชีวิตนี้สละแล้วไม่คิดกลัวตายมานานแล้ว เมื่อคิดว่าตัวเองต้องตายแน่ แต่จิตใจรู้สึกว่ายังมั่นคง จึงตัดสินใจรวบรวมสมาธิ แต่แล้วกลับเกิดความประหลาดขึ้นมา ตัวเองได้หลุดออกจากร่างนั้น เมื่อหันไปมองก็เห็นร่างกายนั้นยังโดนเข้าอันใหญ่โตนั้นเหยียบอยู่ ขณะนั้นไม่รู้สึกเสียดายและไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่ประการใด จึงได้พูดคุยและสอนธรรมะกับเขา บอกว่ามาที่เพื่อแสวงหาความสงบตามป่าเขา ไม่มีเจตนาอื่นใดเขาจึงยกเท้าออก ขณะนั้นเองท่านจึงรวบรวมสมาธิกลับคืนเข้าร่างตนเองอีกครั้ง

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
“วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่”

หลังจากประสบกับเหตุการณนั้นแทนที่จะนึกกลัวแล้วหลีกหนีไป ท่านกลับมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอยู่บริเวณนี้ต่อไป เพระรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจรอให้ท่านศึกษาอยู่ โดยเฉพาะจิตวิญญาณที่จะมาพูดคุยด้วย

ท่านอยากทราบว่าเขาอยู่กันอย่างไร ทุกข์ทรมานเพียงใด และที่สำคัญมีเหตุการณ์ประหลาดน่าสนใจเกิดขึ้น แม้เคยจะประสบ มาบ้างตามป่าเขาต่าง ๆ แต่ไม่ร้ายแรงและน่าสนใจเท่ากับที่นี่ ท่านจึงตัดสินใจอยู่โดยไม่มีกำหนด

ได้พระพุทธรูปโบราณ

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
“วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่”

หลังจากนั้นเจ้าเขาก็กลายเป็นมิตร คอยอุปัฏฐากบำรุงเสมือนอนุบาสกที่ดีผู้หนึ่ง และจะมาร่วมนั่งสมาธิและเดินจงกรมด้วยทุกคืน จนมาคืนหนึ่ง เจ้าเขาได้บอกกับท่านว่า “เขาเป็นผู้อารักขาทรัพย์โบราณบริเวณนั้น ที่นี่เคยเป็นวัดที่สำคัญในอดีต มีพระภิกษุเก่งกล้าสามารถหลายรูป แต่ต่อมากลายเป็นวัดร้าง จึงถูกป่าปกคลุม วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามาทางแหลมมลายู (คาดว่าคงเป็นสมัยอาณาจักรศรีวิชัย) เจ้าเขาได้บอกถวายพระพุทธรูปโบราณ 3 องค์ ซึ่งฝังอยู่ในดิน ถูกรากไม้ทับอยู่ แต่เดิมจุดนี้เป็นสถานที่ตั้งพระพุทธรูปเหล่านี้ แต่เมื่อวัดร้างก็มีรากไม้งอกมาทับไว้ เมื่อรากไม้นั้นเติบโตใหญ่ขึ้น ๆ จนตายและผุพังไปจนเป็นอยู่ในสภาพปัจจุบัน ขอถวายเพื่อให้พระอาจารย์ได้ไปบูชา”

รุ่งขึ้น ท่านจึงออกมาหาพระพุทธรูปตามที่เจ้าเขาบอกถวาย พบต้นไม้และรากไม้ใหญ่ที่ผุแล้วเป็น
สถานที่ตามที่เจ้าเขาบอกไว้ ลองคุ้ยดินดู ปรากฏว่า มีแผ่นศิลาแผ่นหนึ่งทับอยู่ เมื่อรื้อออกมาก็พบ พระทองสัมฤทธิ์ลักษณะเหมือนศิลาแลง ดูอีกทีก็เหมือนเหล็กทั่ง ขนาดไม่ใหญ่นัก หน้าตักกว้างประมาณ ๓ – ๔ นิ้ว สามารถนำติดตัวไปได้ พระพุทธรูปทั้งหมดมีลักษณะคลายคลึงกัน มองดูเป็นสามเหลี่ยม บางองค์จะดูคล้ายใบโพธิ์ มีรูปพระพุทธเจ้านูนขึ้นมา ดูไม่ออกว่าเป็นปางอะไร ลักษณะเป็นอักขระภาษาโบราณร้อยรัดเข้าเป็นรูปพระพุทธรูปนั่งสมาธิ ท่านเห็นจริงตามที่นิมิต จึงได้ยกมือไหว้พระพุทธรูปนั้น แล้วลองยกดูพบว่าทุกองค์มีน้ำหนักมาก ดูไม่สมดุลกับขนาดเลย ท่านได้แต่สงสัยถึงวัสดุที่ใช้สร้างพระพุทธรูปเหล่านี้ว่าทำจากอะไรกันแน่ ท่านนำพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ไว้ในย่ามและอยู่กับตัวตลอดเมื่อจะเคารพบูชาก็จะนำมาตั้งไว้บนฝาบาตรพร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุ

กำหนดรู้อดีตชาติ

คืนต่อมา หลังจากที่ท่านเดินจงกรมและทำสมาธิ ท่านได้เข้าจำวัด แต่จำวัดไปได้สักครู่ก็ลืมตามองเห็นร่างของตัวเองยืดออกยาวใหญ่ผิดปกติ ท่านสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงนั่งสมาธิรวบรวมสติเพื่อเพ่งหาสาเหตุ และกลับไปเห็นอดีตชาติของตัวเอง แต่ท่านไม่ขอเปิดเผย ครั้งนั้นถือเป็นครั้งแรกที่สามารถกำหนดรู้อดีตกาลด้วยตัวเอง เพราะก่อนนั้นถ้าจะได้รู้เห็นอะไร สิ่งนั้นจะมาปรากฎให้ทราบเอง

 

พระราชวชิรากร อาจารย์เจ้าคุณชัย ( พระอาจารย์ชัย ) กระบี่

พระอาจารย์นิรนามในนิมิต

เมื่อจิตหลุดออกไปจากร่างโดยท่านไม่ทราบว่าเป็นไปได้อย่างไร ท่านรู้สึกว่าตัวเองลอยมาปรากฏอยู่ตรงหน้าพระภิกษุชรารูปหนึ่ง ***งออกไปพอสมควรแต่เห็นตัวไม่ชัดนัก ท่านจึงเริ่มเข้าใจได้ว่าเหตุที่จิตหลุดลอยออกไปได้คงเป็นเพราะอำนาจของพระภิกษุรูปนั้นเอง

พระภิกษุรูปนั้นไม่แนะนำตัวเองว่าเป็นใคร แต่บอกว่า “ที่เรียกมานี่ก็เพื่อจะถ่ายทอดวิชาให้ จากนั้นท่านก็เริ่มสอนเกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมจิต การส่งกระแสจิต และการนั่งสมาธิ กำหนดรู้อนาคต ตังสญาณ โดยเน้นหนักให้พิจารณาจิตโดยแยกออกต่างหากจากกาย ให้พิจารณาว่ากายนี้ตายไปแล้วเหลือแต่เพียงจิตนี้เท่านั้น ทำได้เช่นนี้กิเลสจะหมดไป ความต้องการเพื่อกายนี้ก็ไม่มีอีก จิตเป็นอิสระสามารถส่งกระแสจิตให้ล่องลอยไปไหนก็ได้ ทั้งอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

ฟังดูว่าท่านอธิบายเหมือนง่าย แต่พอมาถึงการปฏิบัติพบว่าไม่ง่ายเลย ต้องให้สมาธิและใช้เวลาควบคุมจิตอยู่นานทีเดียวกว่าจะได้อารมณ์นั้น เมื่อรับฟังคำสอนเพียงพอแล้ว ท่านรู้สึกตัวว่าลอยกลับไปที่ร่างที่นั่งสงบนิ่งอยู่ในกลดอีกครั้ง จากนั้นทุกคืนพอท่านเข้าสมาธิก็จะสามารถทำตามพระอาจารย์ที่ชี้แนะได้บ้าง ท่านเล่าว่า “ตอนนั้นมันน่าแปลกในที่ท่านสอนอะไรจะรับได้ดี อาจเป็นเพราะตอนนั้นปัญญาที่ได้สั่งสมพอควรแล้ว ได้รับวิชาความรู้จากครูอาจารย์ต่าง ๆ มาพอสมควรแล้ว เรียกว่าพื้นฐานทางปัญญาแน่นแล้ว แต่ทางสมาธิเรายังไม่สามารถกำหนดให้นิ่งแน่วแน่ได้เท่าปัญญา พอได้มาเรียนรู้วิชากับพระอาจารย์รูปนั้น จึงทำให้ก้าวหน้าขึ้น” ขณะที่ปักกลดพักอยู่ในป่าใกล้วัดโบราณแห่งนั่น บางวันท่านจะออกไปรับบิณฑบาตจากชาวบ้าน แต่บางครั้ง หลาย ๆ วันจึงจะออกไป ท่านเล่าให้ฟังว่าหากไม่ได้ออกไปบิณฑบาตก็จะฉันแต่น้ำ ซึ่งเรื่องเช่นนี้เป็นปกติของพระธุดงค์ทุกรูป ที่ท่านออกธุดงค์นาน ๆ สามารถอดอาหารได้คราวละสิบ ๆ วัน เพราะการที่ไปอยู่ตามป่าเขาจะหาอะไรฉัน นอกจากน้ำในห้วยในลำคลอง สำหรับตัวท่านเคยอดครั้งละ ๓ – ๔ วัน ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดสำหรับพระธุดงค์ เนื่องจากถ้าฝึกสมาธิปฏิบัติธรรมได้ขึ้นขั้นหนึ่ง ก็จะอิ่มเอมในธรรม นิ่งอยู่ในความสงบ ไม่รู้สึกหิวรู้อยากอะไร เรียกว่า ธรรมปิติ

 

พระราชวชิรากร (พิศาล ปุรินฺทโก)

พญางูใหญ่

ท่านอาจารย์ปักกลด พักอยู่ในป่าแห่งนั้น หากวันไหท่านออกรับบิณฑบาต ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก กว่าจะถึงหมู่บ้าน ปกติท่านจะแวะไปรับบาตรที่บ้านของชาวบ้านยากจนคนหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวชื่อ “นายเขียด” ถึงแม้จะยากจนแต่ทว่ามีศรัทธาสูง บางวันไม่มีอะไรก็จะเอาข้าวเปล่ากับเกลือ บางวันมีข้าวน้อยก็ใส่ข้าวเพียงช้อนเดียวกับข้าวมากหน่อย ท่านเห็นศรัทธาแรงกล้าของคนบ้านนั้นก็มักจะแวะไปรับบาตรทุกครั้งที่ออกจากฌาน เพราะเชื่อกันว่าถ้าได้ทำบุญกับพระหลังจากออกจากฌานจะได้อานิสงส์ใหญ่ คืนหนึ่งขณะที่ท่านนั่งสมาธิได้นิมิตเห็นงูเ***ใหญ่ตัวหนึ่งมาแผ่แม่เบี้ยใกล้ ๆ กลด ท่านมองเห็นชัดและมองเห็นตัวเลข ๓ ตัวที่ลายของมัน งูเ***ตัวนั้นสื่อสารความรู้สึกให้ทราบว่าตั้งใจให้เห็นเลขนั้น แต่ห้ามนำไปบอกใคร ถ้าบอกจะมาฉกให้ตาย ท่านได้รับรู้เช่นนั้นก็นำมาตีความหมายว่า หมายถึงอะไร?

แล้วในวันหนึ่ง ขณะที่ท่านออกไปรับบิณฑบาต มีชาวบ้านมาขอหวย ท่านจึงคิดได้ว่างูเ***แกล้งให้เห็นตัวเลขเพื่อบอกใบ้หวยลองใจท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้บอกชาวบ้านคนไหน จนกระทั้งมาถึงบ้านนายเขียด เห็นสภาพครอบครัวของเขา ก็ให้เวทนานัก ลูก ๆ ของเขาเริ่มโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว เรือนที่อยู่ทั้งเล็กทั้งซอมซ่อใกล้พังเต็มที พ่อแม่ลูกหญิงลูกชายอยู่รวมกันหมด ถามว่าทำไมไม่สร้างบ้านให้ดีกว่านี้ เขาบอกว่าไม่มีเงิน ไม่มีรายได้ให้เหลือเก็บพอที่จะเอามาสร้างบ้านได้ หาได้ก็ใช้เลี้ยงลูกเมียไปวัน ๆ

วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
“วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่”

วันนั้นขณะเดินทางกลับจากบิณฑบาตท่านคิดเวทนาครอบครัวนี้นัก คิดถึงตัวเลขที่ได้จากงูเ*** คิดถึงคำขู่ที่ว่าจะฉกให้ตายหากไปบอกใคร ในที่สุดท่านตัดสินใจแน่วแน่ที่จะต้องช่วยเหลือครอบครัวนี้ เพราะท่านเองเลิกกลัวมานานแล้ว ชีวิตหลุดพ้นความตายมาแล้ว และมีชีวิตอยู่ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว อีกทั้งยึดมั่นในพรหมวิหาร ๔ ตามคำแนะนำของพ่อท่านคล้าย รุ่งขึ้นท่านออกไปบิณฑบาตที่บ้านนั้นอีก วันนี้ลูกสาวเป็นผู้มาตักบาตร ท่านจึงบอกตัวเลขนั้นพร้อมกับกำชับว่าห้ามไปบอกใครต่อและให้ซื้อเพียง ๒๐ บาท เมื่อได้เงินมาแล้วให้นำมาจัดการสร้างบ้านให้ดีขึ้น

เด็กสาวรับปากและไปบอกพ่อแม่ตามนั้น สองผัวเมียดีใจและซาบซึ่งในความเมตตาของท่านและยินดีจะปฏิบัติตามคำกำชับของท่าน งวดนั้นหวยออกตามนั้นจริง ๆ สองผัวเมียจึงได้เงินมาซ่อมแซมบ้าน ตอนค่ำขณะที่ท่านเดินจงกรม งูเ***ใหญ่ตัวนั้นปรากฏตัวและทำตามคำขู่ทันที มันตรงเข้าฉกพระอาจารย์ ที่บริเวณหน้าแข้ง ท่านคิดว่าคราวนี้คงต้องตายแน่นอน แต่ไม่ได้เสียดายหรือหวาดกลัว แต่แข็งใจเอาจีวรมาครองครบชุด ใช้ผ้ารัดหน้าอกแล้วเข้าไปนั่งในกลด คิดว่าขอตายให้สมศักดิ์ศรี โดยตายในขณะปฏิบัติธรรมตายในลักษณะของพระภิกษุที่ทรงจีวรเรียบร้อย แล้วเข้านั่งสมาธิ ขณะนั้นไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด และในที่สุดรู้สึกว่าตัวเองได้เป็นอิสระกับร่างกายนั้นอีกครั้ง จิตหลุดออกมาล่องลอยอยู่ภายใน เห็นกายหยาบ นั่งสงบนิ่งอยู่ในกลด แต่จิตยังมุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรม โดยไม่สนใจที่จะจัดการกับกายนั้นเลย จิตล่องลอยไปจนพบกับพญางูใหญ่ตัวหนึ่ง รูปร่างใหญ่โตมาก พญางูได้บอกว่าตนเป็นพญาแห่งงู รู้เรื่องราวของท่านและที่มา ปรากฏเพราะต้องการช่วยเหลือ จากนั้นได้ให้คาถาไว้บทหนึ่ง เพื่อรักษาพิษงู และบอกว่าให้ท่านทำบุญให้งูทุกปี ดังนั้นในวันเกิดทุกปี ท่านจะปล่อยงู โดยเฉพาะงูเ***ปีละ ๙ ตัว ตอนนี้ปล่อยไป ๙๐ กว่าตัวแล้ว ทุกครั้งก็จะอธิษฐานว่าอย่าไปทำร้ายชีวิตมนุษย์ หากมนุษย์ช่วยชีวิตได้ก็ให้ช่วยชีวิตมนุษย์บ้าง งูเ***เหล่านี้ส่วนใหญ่ท่านจะให้ลูกศิษย์ไปซื้อที่จับไว้ขายแล้วเอามาปล่อยที่บนเขาบริเวณที่สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพราะข้าง ๆ ก็จะเป็นสวนยางพารา จนถึงทุกวันนี้ ก็ไม่ปรากฏว่างูเ*** พวกนั้นไปทำอันตรายใคร เมื่อท่านท่องพระคาถานั้นได้แล้ว จิตก็กลับมาที่ร่างคิดที่กลับเข้าไปแต่ทำไม่ได้ ในที่สุดก็นึกถึงพญางูใหญ่ตัวนั้น เขาก็เลื้อยมา ตัวใหญ่มากมองดูเหมือนกับทึบไปทั้งป่า เพราะตัวของเขาบดบัง แล้วช่วยให้กลับเข้าสู่ร่างได้ เมื่อรู้สึกตัวก็ไม่เจ็บปวดส่วนไหนของร่างกายอีก หลังจากนั้นท่านยังคงอยู่ปฏิบัติต่อจนครบ ๓ เดือน และตั้งแต่นั้นท่านได้อธิษฐานว่าจะไม่นอน จะพักผ่อนโดยการนั่งสมาธิเท่านั้น

จากเหตุการณ์นั้นท่านเริ่มแปลกไปทั้งความรู้สึกของตัวเอง และจากการสังเกตของเพื่อนพระตลอดจนญาติโยมที่รู้จักกัน ท่านกลายเป็นเงียบ ๆ พูดจาคมคายลึกซึ่งในธรรมะ อธิบายธรรม ได้ชัดเจนกว่าเดิมมาก การควบคุมจิตใจก็ดูดีขึ้นมาก และที่สำคัญ เริ่มมีความรู้สึกที่เป็นลางสังหรณ์ เริ่มเห็นอะไรในกระแสจิต สามารถนั่งทางในเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า แม้ท่านจะไม่แสดงให้ใครเห็น แต่ก็ไม่พ้นจากการสังเกตของลูกศิษย์และคนใกล้ชิดแล้วนำไปเล่าต่อ ๆ กัน

 

รูปหล่อบูรพาจารย์

 

รูปหล่อบูรพาจารย์

กลับจากป่านั้น ท่านไปอยู่ที่วัดถ้ำเสือฯ ได้นิมิตเห็นพ่อท่านคล้ายอีกครั้ง ท่านมาแสดงความยินดีและช่วยทบทวนหัวข้อธรรม ท่านเองรู้สึกว่าที่มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ ได้เรียนรู้อะไรในทางธรรมมาจนทุกวันนี้ เป็นเพราะความเมตตาของครูบาอาจารย์ ทั้งครูบาอาจารย์ที่ยังมีตัวตน และที่อยู่ในนิมิต คิดแทนคุณโดยสร้าง
รูปปั้นของท่านเหล่านั้นไว้เป็นอนุสรณ์ ท่านรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณครูบาอาจารย์อย่างใหญ่หลวงอยู่ ๓ รูป คือ

รูปหล่อบูรพาจารย์

๑.  พระอาจารย์จำเนียร
พระอาจารย์ ผู้จุดประกายให้แสงสว่างในทางธรรมแก่ท่าน ความเคารพนับถืออันเป็นอันดับ ๑ ท่านบอกว่า “อาตมาเคารพพระอาจารย์จำเนียรยิ่งกว่าอาจารย์ รู้สึกว่าท่านเป็นพ่อ เป็นผู้ให้กำเนิด ให้เกิดในทางสายนี้ เมตตาและสงเคราะห์มาโดยตลอด ชี้แนะในโอกาสต่าง ๆ จนอาตมามีวันนี้ได้ “
รูปเหมือนของพระอาจารย์จำเนียร ที่สร้างไว้ปัจจุบันยังคงอยู่ที่วัดถ้ำเสือฯ
๒.  พ่อท่านคล้าย
เหตุเพราะยังสามารถหารูปของท่านมาเป็นแบบอย่างได้ จึงได้สร้างรูปหล่อของท่านได้ ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ที่วัดถ้ำเสือฯ เช่นกัน
๓. พระอาจารย์นิรนาม
ที่สอนเรื่องจิตให้ที่ป่าอำเภอปลายพระยา แต่เนื่องจากท่านไม่ปรากฏกายให้เห็นชัดเจน และไม่บอกชื่อเสียงเรียงนาม ไม่บอกประวัติใด ๆ ทั้งสิ้น จึงน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ไม่สามารถสร้างรูปเหมือนของท่านได้

 

วัดราษฎร์อุปถัมภ์ - วัดบางเหรียง อ. ทับปุด จ. พังงา

ที่วัดบางเหรียง ( วัดราษฎร์อุปถัมภ์ )  อ.ทับปุด จ.พังงา
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านมาเยี่ยมโยมแม่ ซึ่งตอนนั้นย้ายมาอยู่บ้านบางเหรียง เมื่อเสร็จธุระแล้วท่านกลับไปอยู่วัดถ้ำเสือฯ ไม่นานก็ได้ข่าวว่าที่บ้านบางเหรียงมีคนแก่คนหนึ่งเสียชีวิต ไม่มีญาติพี่น้องจัดการพิธีศพให้ ท่านกับญาติโยมที่สนิทสนมกันจึงเดินทางมาช่วยอนุเคราะห์ และได้จัดพิธีศพให้ที่วัดบางเหรียง ขณะนั้นยังเป็นวัดเล็ก ๆ เนื้อที่น้อยและรกชัฏไปด้วยป่าหญ้าคา วัดทรุดโทรมมากอยู่ในสภาพเป็นวัดร้าง วัวควายของชาวบ้านเข้าไปอาศัยหากิน ชาวบ้านจำนวนหนึ่งจึงนิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษาที่นี่สักระยะหนึ่ง จนกว่าจะมีพระมาอยู่ประจำ แต่ความที่ท่านเป็นพระธุดงค์ เป็นฝ่ายอรัญวาสีมาตลอด ไม่เคยอยู่ประจำที่ไหนและไม่คิดจะดำรงตำแหน่งใด ๆ ทางสงฆ์ จึงบอกชาวบ้านไปว่าจะกลับไปคิดดูก่อน

วัดราษฎร์อุปถัมภ์ - วัดบางเหรียง อ. ทับปุด จ. พังงา

เสร็จจากงานศพนั้น ท่านกลับไปวัดถ้ำเสื้อ ฯ อีกครั้ง เมื่อพิจารณาเรื่องที่ชาวบ้านขอร้องมาและนึกถึงโยมแม่ ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับวัดบางเหรียง ว่า ท่านชรามากแล้วและเจ็บป่วยอยู่เสมอ ตนจากมาตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี ไม่มีโอกาสปรนนิบัติรับใช้ท่านเหมือนลูกคนอื่น ๆ เราควรอยู่ดูแลท่านสัก ๑ พรรษา

ในที่สุดท่านจึงตอบตกลง ครั้งนั้นมีพระภิกษุ สามเณร ตามไปอยู่ด้วย ๑๐ รูป ถึงวัดบางเหรียง ก่อนเข้าพรรษาเพียงวันเดียว (แรม ๑๕ ค่ำ)

วัดราษฎร์อุปถัมภ์ - วัดบางเหรียง อ. ทับปุด จ. พังงา

วัดบางเหรียงหรือชื่อเป็นทางการว่า “วัดราษฎร์อุปถัมภ์” วัดนี้สร้างขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ คิดว่าชาวบ้านคงสร้างกันเอง เพราะมีเนื้อที่น้อยและมีเสนาสนะไม่มาก เป็นแบบง่าย ๆ สภาพวัดทรุดโทรมเต็มที

พระของชาวบ้าน
วัดราษฎร์อุปถัมภ์ - วัดบางเหรียง อ. ทับปุด จ. พังงา

ในปัจจุบันเรียกได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุที่ชาวบ้านรู้จักกันมากท่านหนึ่ง ผู้คนเดินทางมานมัสการวันหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยคน เป็นประชาชนทุกชนชั้นซึ่งท่านให้ความเมตตาเสมอเหมือนกัน และให้ความช่วยเหลือตามสมควร หากญาติโยม มาถวายเงินทองสิ่งของเพื่อสร้างพระธาตุหากเป็นที่วัดก็ให้นำไปใส่ตู้เอง ถ้าถวายส่วนตัวก็จะบริจาคให้วัดที่ทุรกันดารต่อไป หรือไม่ก็ช่วยเหลือคนยากจนที่ต้องการความช่วยเหลือ แถมท้ายด้วยการสั่งสอนให้ประกอบสัมมาอาชีพ, ประพฤติตนเป็นคนดี ท่านจะไม่เก็บเงินติดตัวแม้แต่บาทเดียว โดยให้เหตุผลว่า “การมีทรัพย์สมบัติก่อให้เกิดกิเลส ไม่อยากเวียนกลับไปจมอยู่กับกองทุกข์อีก”จริงแล้ว ท่านเป็นพระที่มีสมณศักดิ์เหมือนกัน คือ เป็น พระครูปลัดพิศาล ปุรินทโก แต่มักจะรู้จักท่านในนาม พระอาจารย์ชัย แห่งวัดบางเหรียง เพราะตำแหน่งพระครูปลัดเป็นตำแหน่งฐานานุกรมที่พระราชาคณะสามารถแต่งตั้งได้ ทั้งนี้ เนื่องจากท่านไม่ได้ผูกติดในยศในตำแหน่งนั้นเอง

ทางด้านความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แม้ว่าปัจจุบันท่านจะไม่ค่อยได้แบกกลดออกธุดงค์

#กราบขอบพระคุณเจ้าของภาพค่ะ / เพจ วัดมหาธาตุวชิรมงคล ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่